วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โรงบดแกลบ




     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้นำแกลบที่ได้จากโรงสีข้าวตัวอย่างสวนจิตรลดามาใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงดิน และนำมาเป็นเชื้อเพลิงแท่งซึ่งเป็นการอนุรักษ์ป่าไม้ และในปี พ.ศ. 2518 จึงเป็นปีที่เริ่มโครงการจัดสร้างโรงบดแกลบ โดยมอบหมายงานให้กับงานช่าง สำนักพระราชวังเป็นผู้ดำเนินการสร้างพร้อมจัดซื้อวัสดุต่างๆ สำหรับก่อสร้างในแบบที่ประหยัดโดยใช้สิ่งของเก่าที่มีอยู่นำมาใช้สร้างอาคาร นอกจากจะนำแกลบมาผลิตเป็นถ่านแล้ว แกลบที่ได้จากโรงสีข้าวตัวอย่างจิตรลดายังสามารถนำมาผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์สูตรต่างๆ


การเผาแกลบที่อัดแล้วเป็นถ่าน

            เนื่องจากแกลบที่อัดแล้วไม่สามารถรักษาสภาพให้เป็นแท่งอยู่ได้ เมื่อถูกน้ำ หรือน้ำฝนจะแปรสภาพเป็นแกลบบดเช่นเดิม แต่เมื่อนำแกลบที่อัดแล้วไปเผาให้เป็นถ่าน จะสามารถคงสภาพตามรูปที่อัดได้
           พ.ศ. ๒๕๓๐ บริษัท อุสาพัฒนาเศรษฐกิจ จำกัด ได้น้อมเกล้าฯ ถวาย เตาเผาถ่าน ขนาด ๒ ตัน มูลค่า ๒๐,๐๐๐.๐๐ บาท และทางโครงการได้จัดสร้างโรง สำหรับเก็บเตาเผาถ่าน และเก็บถ่าน เป็นเงิน ๒๑,๓๗๒.๐๐ บาท ดำเนินการนำเอาแกลบอัดจากโรงบดแกลบมาเผาเป็นถ่าน เพื่อสะดวกในการใช้คือ ไม่มีควัน แกลบที่นำมาเผาเป็น ถ่านแล้วพบว่าน้ำหนักแกลบอัดจะหายไป ๗๐% ถ่านที่ได้จากแกลบมีค่าพลังงานความร้อนพอ สมควรแต่ความร้อนน้อยกว่าถ่านที่ทำจากไม้ทางโครงการฯ ได้บรรจุถ่านใส่ถุงออกจำหน่ายถุงละ ๒ กิโลกรัม ราคา ๘.๐๐ บาท นอกจากนี้ยังศึกษาถึงการอัดแกลบชนิดแน่นและไม่แน่น นำไปเผาถ่าน ผลวิเคราะห์ค่าความร้อนทั้งสองชนิดเท่ากัน ความหนาแน่นไม่เท่ากัน ทำให้ระยะเวลาใช้งานไม่เท่ากัน ถ่านที่ทำจากแกลบอัดชนิดแน่นจะใช้ได้นานกว่า
          พ.ศ. ๒๕๓๒ ผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์ฯ ได้มอบนโยบายให้ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ เพิ่มประสิทธิภาพจากเดิม เดือนละ ๕ - ๖ ตัน ให้สามารถ จัดส่งค่ายผู้อพยพสหประชาชาติ เดือนละ ๑๐ ตัน ได้ดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพ และการจัดการจนจัดส่งได้ตามเป้าหมาย นอกจากนี้ได้ย้ายไซโลเหล็กที่เดิมใช้เก็บข้าวสารนำมา ใช้ข้างโรงอัดแกลบ ใช้สำหรับเก็บแกลบดิบจากโรงสี ซึ่งแต่เดิมไม่มีที่เก็บและมีฝุ่นฟุ้งกระจาย มาก ทำให้ลดปัญหาที่เกิดขึ้น
          พ.ศ. ๒๕๓๓ โรงบดและอัดแกลบ ได้ทำการพัฒนาปรับปรุงการทำงาน จนปัจจุบันเครื่องอัดแกลบเครื่องหนึ่ง สามารถอัดแกลบแท่งได้ประมาณวันละ ๕๐๐ ก.ก. ถ้าทำเต็มที่ ๒ เครื่อง ได้วันละ ๑,๐๐๐ ก.ก. ส่วนเกลียวอัดราคาอันละ ๒,๕๐๐.๐๐ บาท สามารถที่จะทำการซ่อมแซมโดยการพอกเกลียวใหม่ได้ โดยเสียค่าใช้จ่ายในด้านนี้ ๐.๑๖ บาท ต่อแกลบอัดแท่ง ๑ ก.ก.
          พ.ศ. ๒๕๓๔ เนื่องจากมีแกลบเหลือจากโรงสีข้าวส่วนพระองค์ เป็นจำนวนมากกว่าที่จะนำมาทำแกลบอัดแท่งได้ทัน โรงบดและอัดแกลบ จึงนำแกลบส่วนที่เหลือ มาผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์สูตรต่าง ๆ
          พ.ศ. ๒๕๓๖ นำแกลบอัดแท่งมาเผาเป็นถ่าน และหั่นเป็นท่อนเล็ก ๆ หนาท่อนละประมาณ ๑ นิ้ว บรรจุถุงเพื่อสะดวกในการใช้งานยิ่งขึ้น
          พ.ศ. ๒๕๓๗ สร้างเตาเผาถ่านเพิ่มขึ้นอีก ๒ เตา โดยความร่วมมือ ของกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน
          พ.ศ. ๒๕๓๘ ปรับปรุงห้องเก็บแกลบอัดแท่ง เพื่อสามารถเก็บแกลบ อัดแท่งและถ่านที่ผลิตมากขึ้น นอกจากนั้นยังมีการสร้างเตาเผาถ่านเพิ่มขึ้นอีก ๔ เตา โดยได้รับความร่วมมือจากกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน ส่งเจ้าหน้าที่มาช่วยก่อสร้าง
           จะเห็นได้ว่าพระเจ้าอยู่หัวของเราได้ให้ความสนใจในเรื่องถ่านอัดแท่ง ซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติให้มีค่ามากที่สุด พวกเราควรภูมใจที่เป็นส่วนหนึ่งในการที่เราร่วมมือการใช้ทรัพยากรของเราอย่างมีคุณค่า

ที่มา  http://charcoal.snmcenter.com/charcoalthai/manufacter%20husk.php
สืบค้นวันที่ 21 ม.ค.53 เวลา 09.30 น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น