วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โรงนมสวนจิตรลดา


โรงนมผงสวนดุสิต
        การตั้งโรงนมผงสวนดุสิต เกิดขึ้นเนื่องจากภาวะนมสดล้นตลาดเมื่อปี พ.ศ. 2512 โดยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงทราบถึงความเดือดร้อนของผู้เลี้ยงโคนม ที่ไม่สามารถจำหน่ายนมสดที่ผลิตได้ มีนมสดเหลืออยู่มากเกินความต้องการของตลาด จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินการช่วยเหลือ โดยพระราชทานเงินทดรองจ่าย รวมกับรายได้จากการจำหน่ายนมสด สร้างโรงงานผลิตนมผงขนาดย่อมขึ้นภายในสวนจิตรลดา เพื่อผลิตนมผงจากนมสดที่รับซื้อจากสมาชิกผู้เลี้ยงโคนม เป็นการแก้ปัญหานมสดล้นตลาดส่วนหนึ่ง

      พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดโรงงาน เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2512 และพระราชทานชื่อว่า "โรงนมผงสวนดุสิต"  โรงนมผงได้ทำการทดลอง ปรับปรุง แก้ไข ระบบต่างๆ ของกระบวนการผลิต เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการผลิต โดยแปรสภาพนมสดให้เป็นนมผงที่มีคุณภาพดี รักษาคุณค่าทางอาหารให้มากที่สุด บริสุทธิ์และได้มาตรฐาน เพื่อให้ผู้สนใจได้ศึกษานำไปเป็นแบบอย่าง ให้สามารถดำเนินการแบบธุรกิจได้ จึงได้มีโครงการปรับปรุงระบบการผลิต ก่อสร้าง และพัฒนาโรงนมผงขึ้นใหม่ตามลำดับดังนี้

2524-2525

     ได้ดำเนินการปรับปรุง และก่อสร้างโรงนมผงขึ้นใหม่ รวมถึงการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าและสวิตซ์ไฟฟ้า ควบคุมโรงงานโดยใช้งบประมาณโรงนมผง สวนดุสิตที่มีอยู่ส่วนหนึ่ง และอุปกรณ์จากผู้ที่น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายสำหรับการก่อสร้าง


2529-2530


      ด้วยเหตุที่โครงการส่วนพระองค์ฯ ได้เปิดโรงนมอัดเม็ดขึ้นและกำลังเป็นที่นิยม โรงนมผงจำเป็นต้องเพิ่มการผลิต จึงได้สั่งซื้ออุปกรณ์ใหม่ เพื่อทดแทนอุปกรณ์ที่ใกล้เสื่อมสภาพ และปรับปรุงระบบการระเหย ให้มีกำลังผลิตเพิ่มขึ้น

       1. ติดตั้งเครื่องโฮโมจิไนส์ 1 เครื่อง ขนาด 100 ลิตร/ชั่วโมง กำลังอัดขณะใช้งาน 3,000 ปอนด์/ตารางนิ้ว มอเตอร์สามารถปรับรอบได้ตาม ความต้องการใช้งาน
       2. ปรับปรุงระบบการระเหย โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ส่งคณะเจ้าหน้าที่มาวิเคราะห์เพื่อดำเนินการออกแบบเพื่อแก้ไข ดัดแปลงปรับปรุงระบบการระเหยนมซึ่งสรุปได้ 2 วิธีคือ
           - แก้ไขดัดแปลงเครื่องระบบเดิมให้มีกำลังผลิตขึ้นประมาณ 2 เท่า (177.76 ก.ก./ชั่วโมง)
           - ก่อสร้างโรงระเหยนมใหม่ทั้งหมด ใช้ระบบระเหยเป็นแบบ TUBULAR FALLING - FILM ชนิด DOUBLE EFFECTS ให้มีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ประมาณ 3 เท่า (220-250 ก.ก./ชั่วโมง)
       จากการคำนวณและประเมินค่าใช้จ่าย โดยพิจารณากำหนดรายการอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ของทั้ง 2 วิธีแล้ว โครงการส่วนพระองค์ฯ ได้ตัดสินใจปรับปรุงโรงระเหยใหม่ทั้งหมดเป็นแบบ TUBULAR FALLING - FILM ชนิด DOUBLE EFFECTS มีเจ้าหน้าที่จากสถาบันวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย คอยติดตามดูแลและคุมงาน


2532


รัฐบาลเดนมาร์กน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเครื่องมือและอุปกรณ์ ดังนี้
      1. เครื่องอัดลม Stenhoej type KA 112 c จำนวน 1 เครื่อง กำลังผลิต 720 ลิตร / นาที กำลังอัดสูงสุด 10 Bar
      2. เครื่องระเหยนม APV Anhydro type compact จำนวน 1 ชุด อัตราการระเหย 125 ก.ก./ชั่วโมง
      3. เครื่องพ่นนมผง APV type compact จำนวน 1 ชุด อัตราการผลิต 5 ก.ก./ชั่วโมง
      4. เครื่องพ่นนมผง สำหรับการทดลอง APV Anhydro bab mini จำนวน 1 ชุด อัตราการผลิต 2 ก.ก./ชั่วโมง
      5. เครื่องบรรจุนมผง JH Pakkesystemer type GV - 20 จำนวน 1 ชุด อัตราการผลิต 30 ชิ้น/นาที

ที่มา  http://www.scc.ac.th/student_web/2_47/project008/milk_3.html
 วันที่สืบค้น 21 ม.ค.53 เวลา 11.55 น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น